ความรู้เกี่ยวกับ Green Hotel

Learning About Green Hotel

 ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับการตรวจสอบประเมินผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการผลิตอย่างละเอียดจากผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์หรือข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ หรือบริการแต่ละประเภท จึงจะได้รับ “ฉลาก” หรือ “ตราสัญลักษณ์” ซึ่งแสดงว่าสินค้าหรือบริการจะจัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยผู้ผลิตสามารถสื่อสารกับผู้บริโภค การรับรู้ประสิทธิภาพของผู้บริโภค การใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม (Heo & Muralidharan, 2019) กว่าจะได้ซึ่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หากเปรียบเทียบสินค้าตามท้องตลาดในประเภทเดียวกัน เช่น ผลิตภัณฑ์กระดาษทิชชูที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผงซักฟอกที่ย่อยสลายและหลอดไฟประหยัดพลังงาน (Barbarossa & De Pelsmacker, 2016) ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ฉลากรับรองสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(ที่มา: ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์มลพิษและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ,2565)
ชนิด ฉลาก
สัญลักษณ์ฉลากเขียว (Green label)
เป็นสัญลักษณ์สำหรับสินค้าที่มีองค์ประกอบ กระบวนการผลิต การใช้ ตลอดจนการทิ้งทำลายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
สัญลักษณ์ฉลากเขียว
สัญลักษณ์ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกระดับการใช้ไฟฟ้าและข้อมูลเบื้องต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
สัญลักษณ์ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
สินค้าที่มีสัญลักษณ์ผลิตมาจากวัสดุแปรรูปใช้ใหม่
สินค้าที่มีสัญลักษณ์ผลิตมาจากวัสดุแปรรูปใช้ใหม่
สัญลักษณ์สินค้าไม้หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้จากป่าที่มีการจัดการอย่างถูกต้อง
สัญลักษณ์สินค้าไม้หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้จากป่าที่มีการจัดการอย่างถูกต้อง
สัญลักษณ์ฉลากลดคาร์บอน
สัญลักษณ์ฉลากลดคาร์บอน
สัญลักษณ์ G (Green Production)
สัญลักษณ์ G (Green Production)
สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
สินค้าที่ผลิตมาจากกระบวนการผลิตปลอดสารเคมี
สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
สัญลักษณ์ฉลากใบไม้เขียว (Green Leaf)
สำหรับบริการโรงแรม
สัญลักษณ์ฉลากใบไม้เขียว (Green Leaf)

ความรับผิดชอบต่อสังคม

 ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Jang, Kim, & Lee, 2022) เป็นการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกขององค์กรที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในองค์กร หมายถึง ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินขององค์กร มีจุดมุ่งหมายให้มีการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการใส่ใจ ดูแลรักษาสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยจากการสำรวจตลาดและการวิจัยเชิงวิชาการพบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก เช่น ผู้บริโภค พนักงานและนักลงทุน (Du, Bhattacharya, & Sen, 2010) เช่น การจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อม การจัดกิจกรรมปลูกป่า การร่วมโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แล้วนำไปสู่การเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายใน และภายนอกองค์กรได้รับรู้ถึงการมีส่วนร่วมในประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร (สุข, 2015)

การลดการใช้พลังงาน

 คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร หมายถึง ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission and Removals) ที่เกิดจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรวัดรวมอยู่ในรูปของตัน (กิโลกรัม) ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือเทียบเท่า (รอด, 2019)
สมการการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
Activity data เป็นข้อมูลกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ข้อมูลปฐมภูมิหรือข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่
  1. ค่าพลังงานไฟฟ้า หน่วยเป็นกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง (kWh)
  2. น้ำหนักของเสีย หน่วยเป็นกิโลกรัม (kg) หรือ ตัน(ton)
  3. การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของพาหนะ หน่วยเป็นลิตร (l)
  4. ระยะทางในการเดินทางโดยเครื่องบิน หน่วยเป็นกิโลเมตร (km) ฯลฯ

จากความรู้พื้นฐานในการคำนวณค่าไฟฟ้าที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ค่าไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับ 2 ส่วนคือ กำลังไฟฟ้า (watt) และ ชั่วโมงการใช้งาน (hours) ดังนั้นการลดใช้พลังงานไฟฟ้าจึงสามารถทำได้โดย
  • การลดกำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าลง เช่น
    1. การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    2. การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดพลังงาน หรือ ฉลากเบอร์ 5
    3. การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน
  • การลดชั่วโมงการทำงาน เช่น
    1. การปิด-เปิดอุปกรณ์เมื่อไม่ใช้งาน
    2. การบำรุงรักษา-การทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ

 การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Thaweecheep & Eagjariyakorn, 2021) หมายถึง การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือจัดจ้างบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามรายการสินค้าและบริการที่ผ่านการพิจารณาเกณฑ์ ข้อกำหนดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ (ตะกร้าเขียว) สินค้าที่ได้ฉลากเขียว (Green Label) บริการโรงแรมที่ได้รับเกียรติบัตรใบไม้เขียว (Green Leaf) บริการโรงแรมที่ผ่านเกณฑ์สถานประกอบการที่พักสีเขียว (Green Hotel) และผลิตภัณฑ์ผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Cool Mode) เป็นต้น จากผลการสำรวจล่าสุด จํานวนผู้ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมีเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนา เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษจํานวนผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและนิยมบริโภคสินค้าสีเขียว (Green products) มีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับผู้บริโภคชาวออสเตรเลียที่ยินดีใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 ฉลากสิ่งแวดล้อม (Shen, 2012) หมายถึง ฉลากที่แสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมอบให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด ปัจจุบันฉลากสิ่งแวดล้อมมีอยู่หลากหลาย ทั้งที่เป็นแบบผู้ผลิตเป็นผู้ออกฉลากเมื่อสินค้าถูกผลิต ออกแบบ และส่งมอบสู่ตลาด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีความจำเป็นต้องมีอิทธิพลต่อวิธีการผลิตสินค้า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคจึงมีความสำคัญ และฉลากสิ่งแวดล้อมถือเป็นส่วนตอบสนอง และแบบที่ดำเนินการ โดยองค์กรกลางโดยฉลากในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1

  • เป็นฉลากสำหรับสินค้าหรือบริการที่ดำเนินการการโดยองค์กรกลางที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Third Party) มอบให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด ซึ่งการกำหนดเกณฑ์จะพิจารณาการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Consideration) ภายใต้กรอบดำเนินการตามอนุกรมมาตรฐาน ISO 14024
    รูปภาพที่ 1 ตัวอย่างฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1
    รูปภาพที่ 1 ตัวอย่างฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1
    (ที่มา: มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย,2565)
  • ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2

  • เป็นฉลากที่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือ ผู้ส่งออกจะเป็นผู้บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือแสดงค่าทางสิ่งแวดล้อมด้านในด้านหนึ่ง ของผลิตภัณฑ์ไม่ได้พิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และไม่มีกลไกการตรวจสอบโดยองค์กรกลาง แต่ทางผู้ผลิต จะต้องสามารถหาหลักฐานมาแสดงเมื่อสอบถาม ดังนั้น ฉลากประเภทนี้ผู้ผลิตสามารถทำการศึกษาหรือประเมินผลได้ด้วยตนเองโดยปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO14021
    รูปภาพที่ 2 ตัวอย่างฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2
    รูปภาพที่ 2 ตัวอย่างฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2
    (ที่มา: มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย,2565)
  • ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3

  • เป็นฉลากที่แสดงถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการแสดงข้อมูลสิ่งแวดล้อมโดยรวม (Environmental information) โดยการใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตของสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Assessment) เข้ามาประเมิน ตามมาตรฐาน ISO 14040 โดยฉลากนี้ จะมีหน่วยงานอิสระ หรือองค์กรกลางในการทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะประกาศลงกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต่อไป
    รูปภาพที่ 3 ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทอื่น ๆ
    รูปภาพที่ 3 ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทอื่น ๆ
    (ที่มา: มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย,2565)

ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Labels)

 Carbon Footprint หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ วัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นสวน การใช้งาน และการจัดการ ชื้นส่วนสิ่งเหลือหลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งคิดออกมา เป็นเทียบเท่ากับศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนเท่ากับปริมาณกี่เท่าของ CO2 ยังมีก๊าซเรือนกระจก 6 ชนิดที่ประเมิน ภายใต้พิธีสารเกียวโต ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน(CH4), ไนตรัสออกไซด์ (N2O), ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs), และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) (หนู, 2020)

 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Environmental Institute) และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือน กระจก (Thailand Greenhouse gas Organization) ได้ร่วมกันจัดทำโครงการฉลากคาร์บอนขึ้นในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งในประเทศไทยแบ่งฉลากคาร์บอนออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • ฉลากแบบที่ 1
  • พิจารณาการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Cradle to Grave) ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การผลิต การบรรจุหีบห่อ การใช้งาน จนกระทั่งการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งการดำเนินงานจะใช้เวลาค่อนข้างมากเนื่องจากมีกระบวนการประเมินซับซ้อน
  • ฉลากแบบที่ 2
  • พิจารณาการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยพิจารณาเฉพาะก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต (Production stages) เท่านั้น (Gate to gate) ซึ่งวิธีนี้ใช้เวลาในการดำเนินงานน้อยกว่าแบบแรก ฉลากคาร์บอนแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า สินค้าหรือบริการนี้มีการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง ค่อนข้างสูง ปานกลาง ค่อนข้างต่ำหรือต่ำโดยแสดงผลเป็น 5 ระดับ ด้วย หมายเลข 1 - 5 สินค้าที่ได้ฉลากคาร์บอนเบอร์ 5 คือ สินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศน้อยที่สุดและ เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ หรือหมายความว่าสินค้าหรือบริการนั้นมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนได้ ซึ่งระบบฉลากคาร์บอนนี้มีความคล้ายคลึงกับฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ของกระทรวงพลังงาน
    รูปภาพที่ 4 เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศต่างๆ
    รูปภาพที่ 4 เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศต่างๆ
    (ที่มา: มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย,2565)
    ปัจจุบันมีการใช้ Carbon Label ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ และญี่ปุ่น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการติดฉลากนี้ ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่มและสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกที่ริเริ่ม แนวคิดการติดฉลากแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนตัวผลิตภัณฑ์ มีหน่วยงานหลักที่ร่วม รับผิดชอบ คือ Department of the Environment, Food and Rural Affairs (DEFRA) และ The Carbon Trust ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐบาลสหราชอาณาจักร โดยในปี ค.ศ. 2007 ในภาคธุรกิจ บริษัท TESCO ซึ่งเป็นผู้นำตลาดค้าปลีกรายใหญ่ของประเทศได้เริ่มโครงการติดฉลากแสดงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บนผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ TESCO กว่า 20 สินค้า จาก 4 ประเภทผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย น้ำส้ม มันฝรั่งอบกรอบ สารซักฟอกและหลอดไฟฟ้า

ฉลากเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของยุโรป (EU-Eco Label)

 ฉลาก EU-Eco Label หรือที่เรียกว่า EU - Flower ของสหภาพยุโรป เป็นตราสัญลักษณ์ฉลากสิ่งแวดล้อมของทุกประเทศในสหภาพยุโรปที่แสดงว่า สินค้ามีการผลิตและได้รับการรับรองว่ามีวงจรชีวิต (Life Cycle) ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การเลือก วัตถุดิบในการผลิต กระบวนการผลิตเป็นสินค้า และผลกระทบของคุณภาพสินค้าต่อผู้บริโภค เช่น การรักษา คุณภาพน้ำ อากาศ ดิน และเสียง รวมทั้งเรื่องการประหยัดพลังงาน โดยพิจารณาตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิต ทั้งในเรื่องวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การใช้งาน จนถึงขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นการกำจัดกากเหลือใช้หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ EU Eco-label มีสัญลักษณ์เป็นรูปดอกไม้และมีรูปตัวอีคล้ายสัญลักษณ์ของเงินยูโรแทนเกสรดอกไม้ เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในปี 2536 โดยมีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
  • ขอบเขตของสินค้าและบริการ
  • สินค้าและบริการที่ใช้ในชีวิตประจำวันทุกประเภทสามารถขอรับการ ติดฉลาก EU Eco-label ได้ ยกเว้นอาหาร เครื่องดื่ม และเภสัชภัณฑ์ โดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) กำหนดกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) ที่สามารถขอติดฉลาก Eco-label ได้ จำนวน 15 กลุ่ม คือ กระดาษทิชชู เครื่องล้างจาน ดินและปุ๋ย ที่นอน สีทาบ้านและน้ำมันเคลือบเงา รองเท้า สิ่งทอ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน กระดาษ หลอดไฟ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ และคอมพิวเตอร์แบบกระเป๋า นอกจากนี้ ยังมีสินค้าและบริการอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกให้ติด EU Eco-label เพิ่มเติมอีกหลายรายการ เช่น เครื่องดูดฝุ่น บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เป็นต้น ประเทศที่มีการใช้ฉลาก EU Eco-label คือ ประเทศสมาชิกเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area: EEA) รวม 18 ประเทศ ประกอบด้วยสหภาพยุโรป (European Union: EU)จำนวน 15 ประเทศ รวมไปถึงไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และสวิตเซอร์แลนด์

  • ฉลากสิ่งแวดล้อม (Blue Angel)
  • วิวัฒนาการของฉลากสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นจากประเทศในแถบยุโรปโดยมีประเทศเยอรมันเป็นประเทศแรก ที่มีการพัฒนาโครงการฉลากสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ใช้ฉลากที่ เรียกว่า นางฟ้าสีฟ้า (Blue Angel) ในการรณรงค์ปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยจุดมุ่งหมาย 3 ประการคือ ชี้แนะให้ ผู้บริโภคซื้อเฉพาะแต่สินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ส่งเสริมให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อมและรณรงค์ให้ฉลากนางฟ้าสีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมการจำหน่าย

  • ฉลากอีโคมาร์ค
  • โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมในญี่ปุ่นได้เริ่มรณรงค์อีโค มาร์ค (Eco Mark) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค และสนับสนุนให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยหันมาเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรการในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า วัตถุประสงค์หลักของ Eco Mark นั้น ต้องการที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ตราสัญลักษณ์โครงการมีความหมายว่า Friendly to the Earth) ซึ่งเป็นการปกป้องโลก ด้วยสองมือของผู้บริโภค ความแตกต่างระหว่าง Eco Mark และ Blue Angle คือ Eco Mark ไม่ได้สร้าง มาตรฐานใหม่ เพื่อปกป้องผู้บริโภคในแง่ของการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือด้านความปลอดภัย ซึ่งจะแตกต่างจาก Blue Angel ผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลาก Eco Mark นั้น สามารถจำหน่ายได้ภายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น อีกทั้งบริษัทต่างชาติที่จำหน่ายสินค้าในญี่ปุ่นก็สามารถขอใช้ฉลาก Eco Mark ได้

    ตารางที่ 1 การเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    (ที่มา: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม,2565)
    การเลือกซื้อสินค้า บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    สินค้า เลือกสินค้าที่ได้รับฉลากเขียวหรือสินค้าที่เป็นไปตามข้อกำหนด
    บริการโรงแรม เลือกใช้บริการโรงแรมที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเข้าร่วมโครงการใบไม้เขียวหรือโรงแรมที่ได้รับการรับรอง
    บริการอื่นๆ ให้เลือกตามเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    หากไม่มีสินค้าฉลากเขียว ให้เลือกสินค้าที่ผลิตจากสถานประกอบการที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป

ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับ

  • ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
  • ผู้บริโภคจะได้ใช้สินค้าที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิต ลดการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลือง และสารที่เป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ทำให้มีผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยรวม รวมทั้งช่วยปลูกฝังค่านิยมให้สังคมร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วย (ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์มลพิษและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ,2565)
  • ประโยชน์ต่อผู้ผลิต
  • เมื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้รับความนิยมมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายสูงขึ้นด้วย อีกทั้งในกระบวนการผลิตยังเน้นให้ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีอย่างคุ้มค่าปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในระยะยาว ทั้งในการประหยัดต้นทุนการผลิตและเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ (ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์มลพิษและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ,2565)
  • ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
  • เมื่อผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างร่วมมือร่วมใจกันผลิตและบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว ก็จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม คือ ช่วยลดผลกระทบต่าง ๆ ในการผลิตที่อาจเกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งช่วยลดการปล่อยมลพิษที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน (ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์มลพิษและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ,2565)

 ปัจจุบันนี้ มีการพัฒนาในเรื่องของเทคโนโลยี การคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร โดยนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้กับเทคโนโลยี ส่งผลให้ทรัพยากรเสื่อมโทรมลงเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นประเทศทั่วโลกมีนโยบายในการพัฒนาประเทศที่สำคัญประการหนึ่งคือการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้สนองความต้องการของมนุษย์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกประการหนึ่งคือการท่องเทียวซึ่งเป็นวิถีชีวิตในยุคปัจจุบัน มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งธุรกิจที่พักจึงต้องมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจโรงแรมที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจึงส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากมีการนำทรัพยากรมาใช้เกินความจำเป็นทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและไม่คำนึงเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากร ดังนั้น การประกอบธุรกิจโรงแรมควรมีการจัดการอนุรักษ์พลังงาน การระบายน้ำทิ้ง การจัดการมลภาวะทางอากาศและเสียงที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่า 75% ผู้บริโภคจะคำนึงและเลือกใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Buffa, Franch, & Rizio, 2018) เพื่อให้การดำเนินกิจการของโรงแรมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดและมีทรัพยากรเพียงพอสำหรับการใช้ในอนาคต

 อุตสาหกรรมโรงแรม มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเพราะเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวมาใช้บริการ โรงแรมเป็นสถานประกอบการหนึ่งที่ใช้พลังงานและทรัพยากรเป็นจำนวนมากเพื่ออำนวยความสะดวก ให้กับผู้มาใช้บริการที่เข้าพักกับทางโรงแรม ผู้ประกอบการภาคธุรกิจโรงแรมบางแห่งยังไม่มีการวางแผนหรือควบคุมการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสม อาจส่งผลกระทบในระยะยาวได้ เนื่องจากอุตสาหกรรมโรงแรมมีความต้องการที่ใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นสำหรับการบริการให้ลูกค้า โดยใช้ทรัพยากรน้ำ พลังงาน และทรัพยากรอื่นๆ เป็นจำนวนมาก เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การประยุกต์ใช้ความรู้เชิงพาณิชย์เพื่อกระตุ้นการปรับปรุงระบบนิเวศทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งรวมถึงช่วงของความคิดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อเป็นที่ยอมรับของสังคมที่มีต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sun, Duru, Razzaq, & Dinca, 2021)

การจัดการการอนุรักษ์น้ำและการลดของเสียในโรงแรม

 การอนุรักษ์น้ำและการจัดการการลดของเสียได้แพร่หลายถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์การจัดการอุตสาหกรรมโรงแรมสีเขียวที่สำคัญในระดับโลก ประการแรก น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ดำเนินธุรกิจการบริการและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในโรงแรม ปริมาณการใช้น้ำสำหรับห้องพักในโรงแรมที่มีผู้ใช้บริการมีความสำคัญ เนื่องจากปริมาณการใช้น้ำมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ การใช้น้ำโรงแรมเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เช่น การเปลี่ยนผ้าเช็ดตัว การอาบน้ำ เปลี่ยนผ้าปูที่นอน ล้างห้องน้ำ การแปรงฟัน เป็นต้น การหาที่พักสามารถลดปริมาณน้ำได้มหาศาลด้วยการจัดการการอนุรักษ์น้ำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยลดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก การใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าปูที่นอนซ้ำ หัวฝักบัว ห้องสุขา อ่างล้างหน้าแบบไหลต่ำ และแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่ประหยัดน้ำเป็นตัวอย่างของการจัดการอนุรักษ์น้ำดังกล่าว อุตสาหกรรมที่พักยังถือได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนหลักของเปียกของเสีย เช่น ของเสียจากสวน เศษอาหาร ของเสียจากน้ำมันประกอบอาหาร และของเสียแห้ง เช่น กระป๋อง โลหะ พลาสติก ผ้าลินิน กระดาษ ขยะอื่นๆ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมประมาณ 45.0% ของขยะมูลฝอยชุมชนทั้งหมดในเขตเทศบาลเชิงพาณิชย์ ผลการวิจัยพบว่าการจัดการการลดของเสียที่เหมาะสมในโรงแรมไม่เพียงแต่นำไปสู่การรักษาสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย การจัดการการลดของเสียอย่างมีประสิทธิภาพจะนำผลประโยชน์ทางการเงินทั้งโดยตรง การประหยัดต้นทุน และผลประโยชน์ทางอ้อม การตอบสนองของผู้ที่มาใช้บริการที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Han, Lee, Trang, & Kim, 2018)

 โรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงานเป็นการร่วมกันดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของประเทศไทย มีแนวคิดทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นของนโยบายระดับประเทศ เช่น หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมทุกด้าน รวมถึงอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่พักแรม นอกจากจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการบริการใช้พลังงาน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้านไม่ว่าเป็นการใช้ทรัพยากรต่างๆ การปล่อยของเสียและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน (Han, Hsu, & Sheu, 2010) มีการรับรองที่สามารถใช้เพื่อระบุว่าโรงแรม "เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" เช่น การรับรองอาคารสีเขียว ภาวะผู้นำด้านพลังงาน และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จาก Green Earth Check, Green Hotels Global, Green Hotel, Green Leaf Standard (Thailand) มาตรฐานรับรองที่พัก คุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดตามแนวทางปฏิบัติ เช่น ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การประหยัดน้ำ การลดของเสีย และการพัฒนาสังคม ผู้มาใช้บริการจะให้ความสำคัญกับโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าโรงแรมทั่วไปหรือโรงแรมที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Verma, Chandra, & Kumar, 2019) การใช้ทรัพยากรพลังงาน การสร้างมลภาวะทั้งขยะและน้ำเสียมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนที่กำลังกลายเป็นวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ (บุตร, 2019) จากการเติบโตและขยายตัวของธุรกิจโรงแรมที่เพิ่มขึ้น

มาตรฐานโรงแรม

 มาตรฐานโรงแรม หมายถึง สัญลักษณ์แทนคำมาตรฐานบริการระดับต่าง ๆ ของโรงแรมที่จะเลือกพักโรงแรมระดับใด ใช้สัญลักษณ์ดาวเป็นตัดสินเพื่อแบ่งแยกระดับกันอย่างชัดเจน (Soelton, 2018) ในปัจจุบันการทำธุรกิจต่าง ๆ การค้าขาย ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจการประกอบอาหาร มีการตั้งมาตรฐานเป็นตัวชี้วัด รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวกับโรงแรม ที่จะต้องมีมาตราฐานเป็นตัวชี้วัด ซึ่งมาตรฐานโรงแรมนั้นจะเป็นสิ่งที่จะบอกถึงคุณลักษณะ และคุณสมบัติของโรงแรมให้ผู้มาใช้บริการหรือบุคคลภายนอกได้รับรู้และมาตรฐานนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้บริการได้เลือกใช้ตามความชอบตามความพอใจหรือตามงบประมาณที่มีอยู่ของผู้ใช้บริการ สำหรับปัจจัยที่นำมาใช้พิจารณาตัดสินมาตรฐานโรงแรมสภาพทางกายภาพ เช่น ทำเลที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ชุมชนเป็นต้น การก่อสร้าง เช่น โครงสร้างกายภาพของโรงแรม ระบบในโรงแรม การเลือกใช้วัสดุ และระบบความปลอดภัยของโรงแรมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เข้าพัก เช่น ของใช้ในโรงแรม มีคุณภาพ เหมาะสมกับโรงแรมคุณภาพการบริการ และการรักษาคุณภาพ เช่น บุคลิกภาพของพนักงาน การบริการ ความสะอาด ถูกหลักสุขอนามัยการดูแลบำรุงรักษาของโรงแรม (Wong & Kim, 2020)

มาตรฐานโรงแรมในประเทศไทย

  ประเทศไทยมีหน่วยงานที่กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน 3 หน่วยงาน คือ

  1. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการกำหนดเกณฑ์การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Criteria of the Green Hotel) ของสถานประกอบการประเภทโรงแรมไว้ 6 ประเด็น ดังนี้
    • ประเด็นที่ 1 นโยบายด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy)
      นโยบายด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง หลักการหรือวิธีปฏิบัติที่สถานประกอบการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน การมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน เป็นต้น โดยผู้บริหาร และพนักงานร่วมดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
    • ประเด็นที่ 2 การพัฒนาบุคลากร (Capacity Building)
      การพัฒนาบุคลากร หมายถึง วิธีการหรือกระบวนการ หรือกิจกรรมต่างๆที่ดำเนินการเพื่อเพิ่มพูนให้บุคลากรในสถานประกอบการ เกิดความรู้ ความสามารถและทักษะในการทำงานด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน การมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงานและให้มีการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ประเด็นที่ 3 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ (Public Relations and Campaigns)
      การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อสารข้อมูล และข่าวสารด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน การมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน เป็นต้น ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย (ผู้บริหาร พนักงาน และผู้ใช้บริการ) เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ความร่วมมือและสนับสนุนจากกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสถานประกอบการ
    • ประเด็นที่ 4 การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement)
      การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง การจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งคำนึงถึงความเหมาะสมด้านคุณภาพ ราคา ระยะทาง การส่งมอบสินค้าหรือบริการตามที่กำหนด และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตและบริการ โดยพิจารณาตลอดทั้งวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประเด็นที่ 5 การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Environmental Management and Energy Conservation)
      การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน หมายถึง การดำเนินงานใดๆ ที่สามารถใช้ทรัพยากรได้แบบยั่งยืน หรือมีการกำจัดของเสียและมลพิษ หรือเสื่อมสภาพไป หรือไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ เช่น การลดการใช้น้ำ การอนุรักษ์พลังงาน การจัดการพื้นที่สีเขียว การบำบัดน้ำเสีย การลดและกำจัดขยะ การป้องกันมลภาวะทางอากาศและเสียง อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
    • ประเด็นที่ 6 การมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน (Participation with Local Community)
      การมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน หมายถึง การมีส่วนร่วมของสถานประกอบการกับท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ทั้งการร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมดำเนินการ ในกิจกรรมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การรักษาสิ่งแวดล้อม และการสร้างคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น หรือศิลปวัฒนธรรม หรือเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เป็นต้น

    รูปภาพที่ 1 เกณฑ์การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการประเภทโรงแรม
    รูปภาพที่ 1 เกณฑ์การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการประเภทโรงแรม
    (ที่มา: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม,2565)
    รูปภาพที่ 2 ระดับการผ่านเกณฑ์การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประเภทโรงแรม
    รูปภาพที่ 2 ระดับการผ่านเกณฑ์การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประเภทโรงแรม
    (ที่มา: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม,2565)

    นอกจากนี้ในประเทศไทยได้รับความนิยมในการร่วมกันดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวความคิดทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายระดับประเทศทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมทุกด้าน รวมถึงอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่พักแรมเป็นภาคอุตสาหกรรมการบริการหนึ่งที่ใช้พลังงานเป็นอย่างมาก ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการใช้ทรัพยากรต่างๆ การปล่อยของเสียและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน

  3. มูลนิธิใบไม้เขียว (Green Leaf Foundation)
  4.  ก่อตั้งในต้นปี 2541 ประกอบด้วยองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม ประกอบด้วย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมโรงแรมไทย โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สำนักงานการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการประปานครหลวง โครงการที่มูลนิธิใบไม้เขียวดำเนินการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม คือโครงการใบไม้เขียว ซึ่งอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว ได้จัดทำแบบประเมินการรักษาสิ่งแวดล้อมในการดำเนินงานของโรงแรมไว้ให้โรงแรมตรวจสอบการปฏิบัติงานของตน เพื่อให้คณะกรรมการ คสสท. ได้ตรวจสอบและประเมินผลเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่คณะกรรมการได้จัดทำจากโรงแรมอ้างอิง มีการออกแนวคิดเกี่ยวกับโรงแรมสีเขียวหรือใบไม้เขียว (Green Leaf Hotel) โดยนำแนวคิดหลัก “รู้ ประหยัด รักษ์สิ่งแวดล้อม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
    • วางมาตรฐานทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม พัฒนาประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและคุณภาพสิ่งแวดล้อมของธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่พักแรม และได้จัดอันดับโรงแรมต่างๆ
    • มอบเกียรติบัตรใบไม้สีเขียว (The Green Leaf Certificate) ตั้งแต่1-5 ใบ ตามลำดับ ความสามารถในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในโรงแรม ความมุ่งมั่นของผู้ประกอบการและผู้มีส่วนสนับสนุนด้านการดำเนินธุรกิจโรงแรมที่ร่วมกันจัดการดำเนินธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นที่ประจักษ์แก่องค์กรต่างๆทั่วโลก

  5. มาตรฐานโรงแรมสีเขียวอาเซียน
  6.  หมายถึง มาตรฐานของโรงแรมสีเขียวที่ประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนตกลงร่วมกันซึ่งมีเนื้อหาที่เชื่อมโยงถึงการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพเพื่อประโยชน์ด้านการบำรุงรักษาและปรับปรุงอาคาร การอบรมพนักงาน ประสิทธิภาพการให้บริการ ทั้งยังครอบคลุมถึงการส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงาน นักท่องเที่ยวและประชาชนในชุมชนให้มีส่วนร่วมต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนอาชีพและผลิตภัณฑ์ของชุมชน ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวและชุมชนอย่างยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าตามแนวโน้มของตลาดได้ รวมถึงวิธีการขอรับการประเมินสู่มาตรฐานโรงแรมสีเขียว (Astawa, Budarma, Sri Widhari, & Mudana, 2020)

น้ำ

 น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตและสิ่งมีชีวิตเป็นแหล่งกำเนิดของสัตว์น้ำและพืชหลากหลายชนิด นอกจากนั้นน้ำยังมีประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ครัวเรือน อุปโภคบริโภค ใช้ประกอบอาหาร หรือใช้ชำระล้างร่างกายและสิ่งสกปรกต่างๆ และน้ำยังทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่สิ่งมีชีวิต คุณสมบัติของน้ำที่เป็นประโยชน์สำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตมากที่สุดก็คือ น้ำบริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากเชื้อโรคและสารพิษเจือปน ปัจจุบันที่เกิดปัญหาด้านคุณภาพของน้ำ หรือเกิดมลพิษทางน้ำจนไม่สามารถนำน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาใช้ได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น เกิดจากน้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียที่เกิดจากธรรมชาติ เกิดจากพื้นที่ทำการเกษตร

พลังงาน

 พลังงานเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนา การเติบโตทางเศรษฐกิจอัตโนมัติ การใช้พลังงานและความต้องการเพิ่มขึ้นทั่วโลก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น 2.2% ต่อปีระหว่างปี 2000 ถึง 2010 เทียบกับ 1.3% ต่อปีจากปี 1970 ถึง 2000 โลกไม่สามารถดูดซับ CO2 จำนวนมากในอัตราที่ผลิตโดยฟอสซิลเชื้อเพลิง ส่งผลให้ปริมาณ CO2 เพิ่มขึ้นในสิ่งแวดล้อมได้เพิ่มภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มเติมทั่วโลก ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งที่ท้าทายทั่วโลกตามที่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) รายงานภาวะโลกร้อนยังคงเพิ่มขึ้น การใช้พลังงานหมุนเวียนให้ประโยชน์ที่ลดลงการปล่อยมลพิษทางอากาศและก๊าซเรือนกระจก (GHG) ดังนั้น จำเป็นต้องมีแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่รอดได้บนโลกโดยไม่ต้องพึ่งฟอสซิลเชื้อเพลิง

(Hosenuzzaman et al., 2015)


กิจกรรมของศูนย์

Activities

event-17

หลักสูตรระยะสั้นวิธีการเก็นข้อมูลและเขียนรายงานโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรอบรมระยะสั้นการเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมแต่ละด้าน หลักสูตร 2 วัน รับฟังบรรยาย และ ฝึกเขียนรายงานตามตัวชี้วัดโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

2 เม.ย. 68

event-16

กิจกรรม Coaching โรงแรมเพื่อเข้าสู่การจัดการที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม

ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.อ. ดร.ปรัชญากรณ์ ไชยคช และคณะ จัด Coaching ให้กับโรงแรม Dusit Princess Phatthalung เพื่อเตรียมข้อมูลโรงแรมเข้าสู่การจัดการโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป โดยมีตัวแทนจาก Green happy พัทลุง และโรงแรม Crystal หาดใหญ่ เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย

16 มกราคม 2568

event-15

กิจกรรมการเสวนาโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมและอบรมเชิงปฏิบัติการนำใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม

ศูนย์การจัดการนวิตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างอย่างยั่งยืน (อพท.) จัดกิจกรรมเสวนาทิศทางการจัดการโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสงขลา โดยมีผู้แทนจาก อพท. อบจ. เทศบาลนครหาดใหญ่ สมาคมธุรกิจการโรงแรมหาดใหญ่ สงขลา และมูลนิธิกระบี่ยั่งยืน ร่วมเสวนา และจัดอบรมเชิงปฏิบัตการการนำใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม แก่ตัวแทนโรงรแรมที่เข้าร่วมโครงการ ที่ห้องประชุมโรงแรม สงขลา ลากูน่า แกรนด์ โฮเตล แอนด์ สปา

26-27 พฤศจิกายน 2667

event-14

Green hotel ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.อ. ร่วมกัน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จัดโครงการยกระดับสถานประกอบการธุรกิจโรงแรมที่พักที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม จังหวัดสงขลาและพัทลุง ที่โรงแรม New Season หาดใหญ่ สงขลา การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์ SWOT การเข้าสู่โรงแรมที่ได้มาตรฐาสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้เข้าร่วม 30 ท่าน ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวมีการทำงานใน 6 ขั้นตอน กิจกรรมครั้งนี้เป็นขั้นตอนที่ 2

6 พฤศจิกายน 2567

event-13

เตรียมจัดอบรม Green Hotel สงขลา

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และผู้บริหารโรงแรมเซ็นธารา หาดใหญ่ เตรียมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการโรงแรมทีได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม (Green hotel) แก่ผู้ประกอบการโรงแรมที่พักในจังหวัดสงขลาเป็นครั้งแรก ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 มิถุนายน 2567 ที่โรงแรมเซ็นธารา หาดใหญ่

25 เมษายน 2567

event-12

จัดอบรม Green hotel พัทลุง

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ม.อ. ร่วมกับ ล่องแก่งหนานมดแดง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม (Green hotel) แก่ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่พักพัทลุงระหว่างวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมหนานมดแดง รีสอร์ต

วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2567

event-10

Coaching การจัดการโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้จัดกิจกรรมอบรมและ Coaching การจัดการโรงแรมทีได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมให้กับโรงแรม Lario Hotel อ่าวนาง กระบี่ ระหว่างวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2566

30-31 พฤษภาคม 2566

event-9

จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำหลักสูตรการจัดการโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นการพัฒนาหลักสูตรการจัดการโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงาที่เกี่ยวข้องในจังหวัดกระบี่ ประกอบด้วย ผู้แทนจากสมาคมโรงแรมกระบี่ ททท. สำนักงานกระบี่ มูลนิธิกระบี่ยั่งยืน และผู้ประกอบการโรงแรมบางส่วน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรม Red Ginger Chic Resort อ่าวนาง กระบี่

9 พฤษภาคม 2566

event-8

นำเสนอเว็บไซต์ psugreenhotel แก่หน่วยงานจังหวัดกระบี่

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้รับเชิญจาก อววน. นำเสนอนวัตกรรม (software) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโรงแรมเพื่อจัดทำฐานข้อมูลโรงแรมส่งประกวดการจัดการโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่

14 มีนาคม 2566

event-7

กิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนชาวเลโต๊ะบะหลิว

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ. เชิญผู้ประกอบการโรงแรม 4-5 ดาว บนเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ สำรวจกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนชาวเลโต๊ะบะหลิว เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เพื่อสำรวจความพร้อมของชุมชนในการส่งนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวในชุมชนและทำกิจกรรมท่องเที่ยวร่วมกัน การสร้างความร่วมมือกับชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม

event-6

อบรมที่ปกาลัยรีสอร์ต

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ. จัดอบรมหลักสูตรการจัดการโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม แก่ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่พักจังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2565 ณ ปกาสัย รีสอร์ต อ่าวนาง โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่

27-28 ตุลาคม 2565

event-5

อบรมที่เกาะลันตา

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ. จัดอบรมหลักสูตรการจัดการโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม แก่ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่พักบนเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2565 โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่

23-24 สิงหาคม 2565

event-4

งาน CBT Andaman Travel Mart 2022 กิจกรรม Table Top Sale

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ. จัดงาน CBT Andaman Travel Mart 2022 กิจกรรม Table Top Sale ขึ้นที่โรงแรมดุสิต ธานี กระบี่ บีช รีสอร์ต เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 โดยเชิญโรงแรมที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการจัดการโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมมาเป็นผู้ซื้อ (Buyer) และตัวแทนจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอันดามันเป็นผู้ขาย (Seller)

26 กรกฎาคม 2565

event-3

Coaching โรงแรมดุสิตธานี

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ. จัดกิจกรรมศึกษาดูงานให้กับผู้แทนโรงแรมที่เข้ารับการ Coaching การจัดการโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่โรงแรมดุสิต ธานี กระบี่ บีช รีสอร์ต เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 กิจกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา (ทกจ.) จังหวัดกระบี่

2 มีนาคม 2565

event-1

Coaching โรงแรมดีวาน่า พลาซ่า

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ. จัดกิจกรรม Coaching ให้กับโรงแรมในจังหวัดกระบี่ เพื่อขอมาตรฐานการจัดการโรงแรมที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม (Green Hotel) ณ โรงแรม ดีวาน่า พลาซ่า อ่าวนาง จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา (ทกจ.) กระบี่

28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565


ติดต่อเรา

Contact Us

ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ​ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ 081 9398195
Email: prachyakorn.c@psu.ac.th